IPST-WiFi

คุณสมบัติทางเทคนิค

  • ใช้โมดูลไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ติดตั้งชิปไมโครคอนโทรลเลอร์เบอร์ ESP32 จาก Espressive System เป็นชิปที่ใช้ซีพียู 32 บิต แกนคู่หรือ Dual core เบอร์ Xtensa LX6 เป็นซีพียูสถาปัตยกรรมฮาร์วาร์ด ซีพียูแต่ละแกนจะเรียกว่า PRO_CPU หรือ Protocol CPU และ APP_CPU หรือ Application CPU มีหน่วยความจำรอมภายใน 448 กิโลไบต์ แรม 520 กิโลไบต์ และ 16 กิโลไบต์สำหรับระบบฐานเวลานาฬิกาจริงภายในตัวชิป
  • ติดตั้งหน่วยความจำแฟลช 4 เมกะไบต์ สำหรับบรรจุเฟิร์มแวร์หรือโปรแกรมควบคุมหลัก
  • ติดตั้งหน่วยความจำ PSRAM (Pseudo SRAM) 4 เมกะไบต์ ทำให้รองรับการเขียนโปรแกรมหรือโค้ดดิ้งด้วยภาษาไพทอนได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพกว่ารุ่นที่ไม่มีหน่วยความจำ PSRAM
  • เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านพอร์ต USB ในแบบ microUSB โดยใช้ชิปแปลงสัญญาณ USB เป็นอนุกรมเบอร์ CP2104 เพื่อสื่อสารข้อมูลกับคอมพิวเตอร์และใช้อัปโหลดโค้ดลงสู่หน่วยความจำของ ESP32
  • จัดสรรพอร์ตอินพุตเอาต์พุตของ ESP32 เพื่อใช้งานได้โดยตรง 8 ขา ประกอบด้วย อินพุตแอนะล็อก 4 ขา (GPIO32 ถึง 35) อินพุตเอาต์พุตดิจิทัลและเอาต์พุตแอนะล็อก 1 ขา (GPIO26) อินพุตเอาต์พุตดิจิทัล 3 ขา (GPIO5, 19 และ 23)
  • มีจุดต่ออุปกรณ์ระบบบัส I2C 1 ชุด
  • มีสวิตช์เปิดปิดไฟเลี้ยงสำหรับโมดูล ESP32
  • มีวงจรประจุแบตเตอรี่ลิเธียมโพลีเมอร์และจุดต่อแบตเตอรี่สำหรับวงจรฐานเวลานาฬิกาจริง (Real-Time Clock) บนโมดูล ESP32
  • มีวงจรเชื่อมต่อ WiFi และบลูทูธกำลังงานต่ำหรือ BLE ในตัวพร้อมสายอากาศแบบ 3D ทำให้การรับส่งสัญญาณทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าสายอากาศที่ใช้ลายทองแดงของแผ่นวงจรพิมพ์
  • รับไฟเลี้ยง +5V จากคอนเน็กเตอร์ microUSB บนโมดูล ESP32 หรือจากจุดต่ออะแดปเตอร์บนแผงวงจร
  • มีสวิตช์เปิดปิดไฟเลี้ยงหลัก พร้อม LED แสดงสถานะไฟเลี้ยง
  • ติดตั้งจอแสดงผล OLED ขนาด 0.96 นิ้ว ความละเอียด 128 x 64 จุด เชื่อมต่อผ่านบัส I2C
  • มี LED (ต่อกับขาพอร์ต 18) และสวิตช์ BUTTON (ต่อกับขาพอร์ต 0) สำหรับทดสอบอินพุต เอาต์พุตดิจิตอลเบื้องต้น
  • มีสวิตช์ RESET
  • ติดตั้งลำโพงเปียโซเพื่อขับเสียง (ต่อกับ GPIO25)

ดาวน์โหลดเอกสารการพัฒนาโค้ดแบบบล็อกด้วย KB-IDE

สั่งซื้อออนไลน์ที่ www.inex.co.th